วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรียนAutocad ชุดคำสั่งที่ใช้ในการเขียนงานเบื้องต้น

ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่บทเรียน"เรียนAutocad"ต้องขอขยายความว่า "บทเรียนนี้เน้นสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้งานโปรแกรมมาก่อนการแนะนำจึงเป็นการอธิบายเพื่อเน้นให้ง่ายต่อการเข้าใจ" เหมาะสำหรับผู้ที่พึ่งจะเริ่ม
เรียนรู้การใช้งานโปรแกรมAutocadในการเขียนแบบ หรือผู้ที่ไม่เคยมีพื้นฐานการเขียนแบบมาก่อน ดังนั้นจึงจะพยายามอธิบายในหลักการ ที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายที่สุด เรามาเริ่มต้นกันที่เครื่องมือคำสั่งเบื้องต้นที่ใช้ในการเขียนบ่อยๆกันก่อน ว่าเครื่องมือตัวไหน ชื่ออะไร มีลักษณะและคุณสมบัติในการใช้งานอย่างไรกันบ้าง ดูรูปภาพประกอบ
ชุดเครื่องมือ Draw เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้วาดรูปลักษณะต่างๆคือ
  • Line ใช้ในการวาดเส้นตรงหนึ่งเส้น
  • Polyline ใช้ในการวาดเส้นตรงเส้นต่อเนื่อง
  • Rectangle สร้างรูปสี่เหลี่ยม
  • Arc สร้างเส้นโค้ง
  • Circle สร้างเส้นวงกลม
  • Spline ใช้ในการสร้างเส้นโค้งอิสระ
ส่วนเครื่องมืออื่นในชุดคำสั่งDrawที่ไม่ได้อธิบายก็เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ผมจะทยอยแนะนำในการเริ่มเขียนแบบแปลน
ชุดคำสั่ง Modify

  • Erase  ใช้ในการลบ
  • Coppy  คัดลอก
  • Mirror  คัดลอกแบบสะท้อน(เหมือนสะท้อนกระจก)
  • offset  สร้างเส้นขนาน
  • Move  ย้ายวัตถุ
  • Trim  ต่อเส้น
  • Eetend  ตัดเส้น
อธิบายเพิ่มเติมภาพตัวอย่างและเนื้อหาในคำบทความผมใช้"Autocad2007"ประกอบคำอธิบายเพราะส่วนตัวเห็นว่าเวอร์ชั่นนี้เข้าใจง่ายเหมาะสำหรับผู้เริ่มเรียน

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เริ่มต้นใช้งาน Google SketChup

เริ่มต้นการใช้งานโปรแกรมเขียนแบบด้วย Google SketChup ก่อนจะเริ่มการเขียนเรามาทำความรู้จักหน้าตาและส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรมกันก่อน สำหรับเจ้าโปรแกรม Google SketChup นี้จะเหมาะกับการสร้าง Model งาน ซึ่งตัวผมเองก็พึ่งเริ่มใช้ได้ไม่นาน ก่อนหน้านี้ผมจะใช้ Autocad เป็นส่วนใหญ่ ถือว่าเรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ผิดพลาดประการต้องขออภัยด้วย
หลังจากทำการติดตั้งตัวโปรแกรม"Google SketChup"แล้วเราจะได้หน้าตาโปรแกรมดังรูป
เริ่มต้นโปรแกรม

ส่วนประกอบโปรแกรม

ส่วนที่หนึ่งเรียกว่า TiTle Bar จะเป็นแถบที่แสดงชื่อไฟล์ที่กำลังใช้งานอยู่โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น Untitled
ส่วนที่สองเรียกว่า Manu Bar จะเป็นแถบเมนูที่รวมหมวดเครื่องมือในการใช้งานโปรแกรมทั้งหมดมีทั้งหมดอยู่ 8 หมวดประกอบด้วย File,Edit,View,Camera,Draw,tools,Window,Plugins,Help
ส่วนที่สามเรียกว่า Tool Bar คือแถบเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการเขียนแยกมาจากหมวดหลักของManu Bar โดยทั่วไปเราจะให้แสดงเครื่องมือหลักที่ใช้ในการเขียนเป็นประจำ
ส่วนที่สี่เรียกว่า Large Tool set แถบแสดงเครื่องมือด้านข้างวิธีเรียกแสดงเมนูนี้คือเลือก View>>Tool Bar>>Large Tool Set
ส่วนที่ห้าเรียกว่า Measurements แถบสำหรับกำหนดขนาด ความยาว ระยะห่าง ในการเขียน
แสดงเครื่องมือLarge Tool set 
แถบด้านข้าง

เวอร์ชั่นที่ผมใช้ประกอบการสอนนี้จะเป็นเวอร์ชั่น Google SketChup Pro 8 หลังจากรู้จักส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรมแล้วบทความหน้าเราจะมาตั้งค่าการใช้งานต่างๆก่อนเริ่มการเขียนกัน
เรียบเรียง:http://lessonconstructiondrawings.blogspot.com
รูปภาพ:http://lessonconstructiondrawings.blogspot.com

การplotงานเป็นไฟล์PTF

หลายคนมักปวดหัวกันหลายครั้ง เวลาจะปริ้นงานออกมา แต่หาปริ้นตามร้านต่างๆไม่ได้เพราะถ้าคอมของทางร้านไม่มีหรือไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมAutocadไว้ มันก็จะไม่อ่านไฟล์งานที่เราเก็บไว้ใน USB "ปัญหานี้เราสามารถแก้ไขด้วยการ plot งานให้เป็นไฟล์ pdf แทน" โดยมีวิธีการคือ
ที่หน้า model













เลือกงานที่ต้องการ plot จะมายังหน้า plot อีกครั้งและก็ด้วยขั้นตอนที่ 6-7-8-9










 ถ้างานถูกต้องกด plot(10)กดok เรียบร้อย













วิธีที่แนะนำนี้คือการplotงานจากหน้าModelง่ายๆไม่ยากครับ

เรียนAutocad เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม

เริ่มต้นการใช้งานAutocad
โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง Select template

  • ผู้ใช้สามารถเลือกเอกสารแม่แบบ (Template) หรือเลือก
เฉพาะหน่วยวัดในการทำงานซึ่งมี 2 แบบ คือ
หน่วยอังกฤษ (Imperial) กับหน่วยเมตริก (Metric)

  • ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นการทำงานโดยเปิดหน้าเอกสารใหม่โดยคำสั่ง New หรือเปิดไฟล์งานแบบซึ่ง
มีการเขียนมาก่อนหน้าแล้วโดยคำสั่ง Open
1.การเปิดหน้าเอกสารใหม่ ทำได้โดยเลือกที่ Menu bar… เลือก File เลือก New
                  โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง Select template
                  ผู้ใช้สามารถเลือกเอกสารแม่แบบ (Template) หรือเลือก
                  เฉพาะหน่วยวัดในการทำงานซึ่งมี 2 แบบ คือ
                  หน่วยอังกฤษ (Imperial) กับหน่วยเมตริก (Metric)
2.การเปิดหน้าเอกสารเก่า ทำได้โดยเลือกที่  Menu bar… เลือก File เลือก Open
                 วิธีการเลือกเปิดไฟล์งาน